กาฬสินธุ์

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การตั้งเมืองกาฬสินธุ์


3.การตั้งเมืองกาฬสินธุ์
เมื่อเจ้าโสมพะมิตตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองมั่นคงที่เก่งสำโรงสงเปือยแล้ว เจ้าโสมพะมิตได้ลงไปเฝ้าทูลละอองธุรีพระบาทพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ รัชกาลที่ 1 ที่กรุงเทพฯ และขอพระราชทานตั้งเมืองทำราชการขึ้นต่อกรุงเทพฯ โดยตรง
3.1 การขอพระราชทานตั้งเมือง
ชุมชนบ้านแก่งสำโรงสงเปือยได้ตกเข้าอยู่ในเขตอิทธิพลทางการเมืองของกรุงเทพฯประมาณ 10 ปี ก่อนที่จะได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเมืองเพราะมีหลักฐานเอกสารระบุชัดเจนว่า ในปี พ.ศ. 2325 เจ้าโสมพะมิตได่ส่งบรรณาการ ได้แก่ น้ำรัก สีผึ้ง นอแรดและงาช้างต่อกรุงเทพฯ โดยผ่านทางเวียงจันทน์จนกระทั่งปี พ.ศ. 2336 เจ้าโสมพะมิตได้เดินทางลงไปกรุงเทพฯ เข้าเฝ้าทูลละอองธุรีพระบาทขอพระราชทานตั้งเมือง จึงมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกฐานะบ้านแก่งสำโรงเป็นเมืองกาฬสินธุ์ตั้งเจ้าโสมพะมิตเป็นพระยาไชยสุนทรเจ้าเมืองท้าวคำหวาอุปชาฮาดทำราชการขึ้นต่อกรุงเทพ12 เกี่ยวกับศักราชที่ตั้งเมืองกาฬสินธุ์ยังเป็นที่สงสัยเคลือบแคลงใจอยู่เพราะเมืองกาฬสินธุ์ขาดเอกสารหลักฐานชั้นต้นที่รัดกุมแน่นหนาไม่เหมือนกับเมืองอุบลธานีศรีวะนาลัย และเมืองสุวรรณภูมิราชบุรินทร์ ซึ่งทั้งสองเมืองมีสุพรรณบัฏทรงตั้งเจ้าประเทศราชโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯรัชกาลที่ 1 13 สำหรับหลักบานเอกสารของเมืองกระมาลาไสยและเมืองขึ้นของพระราษฎรบริหาร (ทอง) ซึ่งแต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 แลพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานของหม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม คเนจร) ข้าราชการมณฑลลาวกาวที่ได้เดินทางตรวจราชการทั่วหัวเมืองอีสานในรัชกาลที่ 5 เช่นเดียวกัน ระบุศักราชการตั้งเมืองกาฬสินธุ์ไว้เหมือนกัน คือ พ.ศ. 2336 ซึ่งสามารถวิเคราะห์จากเอกสารสำคัญทั้งสองฉบับได้ดังนี้
(1) เอกสารทั้งสองกล่าวว่าเจ้าโสมพะมิตลงไป
เฝ้าทูลละอองธุรีพระบาท พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ รัชกาลที่ 1 ที่กรุงเทพฯ ขอทำราชการขึ้นต่อกรุงเทพฯ และขอพระราชทานตั้งเมืองเอกสารทั้งสองฉบับหรือฉบับอื่น ๆเชื่อถือได้ว่าเจ้าโสมพะมิตลงไปเฝ้าทูลละอองธุรีพระบาทที่กรุงเทพฯ เพราะเป็นการอพยพเข้ามาครั้งแรกแล้วขอพระราชทานตั้งเมือง ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้นำกลุ่มชุมชนนั้นจะต้องเข้าเฝ้าทูลละอองธุรีพระบาทขอพระราชทานตั้งเมืองโดยตรง
(2) พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานของหม่อมอมรวงศ์วิจิตร และประวัติศาสตร์อีสาน ของเติม วิภาคพจนกิจ อ้างว่าโปรดเกล้าฯ สถาปนาเมืองกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2336 สำหรับพงษาวะดารเมืองกาลสินฯของพระราษฎรบริหาร (ทอง) ระบุว่า “แล้วพระยาโสมพะมิตลงไปเฝ้าทูลละอองธุรีพระบาท ในแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระยอดฟ้าจุฬาโลก จึงโปรดเกล้าตั้งให้พระยาดสมพะมิตเป็นที่พระยาไชยสุนทรเจ้าเมืองขานนามแก้งสำโรงขึ้นเป็นเมืองกาฬสินธุ์ แต่วันปีจอจัตวาศก ลุศักราช 1164 พระยาไชยสุนทรโสมพะมิตเจ้าเมืองกาลสินธุ์ชราอายุ 70 ปีเศษหลงสติจึงมอบราชการเมืองให้ท้าวหมาแพงบุตรพระอุปชาเป็นผู้ว่าการเมืองกาลสินธุ์ต่อมา... ” จะเห็นได้ว่าศักราชตั้งเมืองกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2336 ถูกต้องแล้วเพราะมีเจ้าโสมพะมิตอายุ 61 ปี สามารถเดินทางไปกรุงเทพได้และสามารถปฏิบัติราชการเป็นเจ้าเมืองได้จนถึง พ.ศ. 2345 ซึ่งเป็นปีที่เจ้าโสมพะมิตอายุได้ 70 ปี และหลงสติจึงมอบราชการงานเมืองให้ท้าวหมาแพงรักษาดูแลต่อไป พงษาวะดารเมืองกาลสินฯ ของพระราษฎรบริหาร (ทอง) ระบุถูกต้องว่าจุลศักราช 1164 (พ.ศ.2345) พระยาไชยสุนทรชราภาพอายุ 70 ปีเศษหลงสติกล่าวได้ว่าเอกสารฉบับพระราชราษฎรบริหาร (ทอง) นี้ไม่ได้ระบุปีพุทธศักราชที่ตั้งเมืองกาฬสินธุ์ เป็นแต่ระบุปีที่เจ้าเมืองชราภาพหลงสติเท่านั้น
(3) เมืองอุบลราชธานี และเมืองสุวรรณภูมิ มีหลักฐานได้รับพระราชทานตั้งเมืองเมื่อ พ.ศ. 2334 เมืองกาฬสินธุ์ซึ่งไพร่บ้านพลเมืองอพยพออกมาจากนครเวียงจันทน์ในเวลาไล่เลี่ยกันกับกลุ่มชาวลาวที่ตั้งเมืองสุวรรณภูมิ จึงน่าได้รับการสถาปนาตั้งเมืองในเวลาไล่เลี่ยกันด้วย
จากการวิเคราะห์และประเมินค่าเอกสารแล้วสรุปได้ว่าเมืองกาฬสินธุ์ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2336 ที่เอกสารส่วนใหญ่อ้าง และตามสถานการณ์การตั้งเมืองร่วมสมัยในเวลานั้น แต่ที่แน่นอนที่สุดคือเมืองกาฬสินธุ์เป็นเมืองที่สถาปนาขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์(พ.ศ.2325-2352) เป็นการเริ่มต้นความสัมพันธ์เชิงสวามิภักดิ์ของเมืองกาฬสินธุ์ต่อกรุงเทพฯ หรือมีส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทยโดยแท้จริง
3.2 อาณาจักรเมืองกาฬสินธุ์
เนื่องจากในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณที่ราบสูงโคราชมีอยู่เพียงเบาบางเล็กน้อย การกำหนดเขตแดนของเมืองกาฬสินธุ์จึงกำหนดไว้กว้าง ๆ ดังนี้
...ตั้งแต่แม่น้ำพองข้างเหนือมาตกชีข้างตะวันตกนั้น ตั้งแต่พองตัดรัดไปห้วยไพจารไปเขาทอกคอกดาวตัดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

เที่ยวกาฬสินธุ์

เที่ยวกาฬสินธุ์
ภูกุ้มข้าว