กาฬสินธุ์

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ประวัติ กาฬสินธุ์



1. สถานะของบริเวณที่ราบสูงโคราชก่อนพุทธศตวรรษที่ 24
ระยะก่อนพุทธศตวรรษที่ 24 ขอมมีอำนาจครอบคลุมบริเวณที่ราบสูงโคราชจนขอมเสื่อมอำนาจลงกลุ่มชาวลาวจึงอพยพเข้าสู่บริเวณที่ราบสูงโคราชในตอนต้นศตวรรษที่ 24
1.1 การเสื่อมอำนาจของขอมในบริเวณที่ราบสูงโคราช
สาเหตุเป็นที่อาณาจักรพระนครหลวงอ่อนแอลง เพราะเป็นผลจากการที่พระมหากษัตริย์ทรงมุ่งแต่นโยบายด้านดารขยายอาณาเขต และทุ่มเท่กำลังทรัพย์รวมทั้งแรงงานในการสร้างปราสาทต่าง ๆ
ครั้งนี้รัชสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 อาณาจักรพระนครหลวงก็เสื่อมลงอย่างได้ชัดเนื่องจลาจลภายในและสงครามจากภายนอกอาณาจักร กล่าวคือ พวกจามยกกองทัพเข้าโจมตีและยึดนครวัดไว้ได้ จนอาณาจักรพระนครหลวงต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของอาณาจักรจามปาระยะหนึ่ง จนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1734 - 1758) จึงสามารถขับไล่จามออกไปได้เป็นผลสำเร็จพระองค์ทรงรวบรวมอาณาจักรพระนครหลวงให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง ทรงขยายอาณาเขตไปครอบคลุมแม่น้ำเจ้าพระยา ตลอดจนถึงแหลมมลายูในด้านใต้ ส่วนด้านเหนือก็ขยายอำนาจถึงบริเวณประเทศลาวปัจจุบัน

1.2 การขยายอำนาจของอาณาจักรล้านช้างเข้าสู่ที่ราบสูงโคราช
ระหว่างที่กรุงศรีอยุธยากับเขมรทำสงครามกันอยู่นั้น เปิดโอกาสให้อาณาจักรล้านช้างอำนาจเข้าสู่ที่ราบสูงโคราชได้เป็นอย่างดี เนื่องจากอาราจักรล้านช้างซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ 19 และได้เจริญเป็นปึกแผ่นมั่นคงขึ้นในสมัยเจ้าฟ้างุ้ม (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1896 – 1916) อ่อนแอลงและเวียดนามก็ถูกรุกรานจากจีนสมัยราชวงศ์เหม็ง เจ้าฟ้างุ้มจึงทรงถือโอกาสขยายพระราชอำนาจเข้าสู่บริเวณที่ราบสูงโคราช โดยทรงยกกองทัพไปตีได้เมืองในบริเวณที่ราบสูงโคราชหลายเมือง คือ พระนารายณ์ พระเทียน เชชะมาด สะพังสี่แจ และโพนผิงแดด ไว้ในพระราชอำนาจ 2 จนถึงรัชสมัยเจ้าสามแสนไทย (ครองราชย์ พ.ศ. 1916 - 1959) อาณาจักรล้านช้างก็ยังมีอำนาจครอบคลุมบริเวณนี้อยู่แต่อย่างไรก็ตามประชากรที่อาศัยอยู่แถบบริเวณที่ราบสูงโคราชตามเมืองต่างๆ ดังกล่าวข้องต้นยังคงเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมซึ่งอาศัยอยู่อย่างเบาบาง ได้แก่ ขอม ละว้า ส่วยและกวย 3 แม้อาณาจักรล้านช้างจะมีอำนาจเหนือดินแดนบริเวณนี้ชาวลาวก็มิได้อพยพเข้าไปอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวแต่อย่างใดชาวลาวอพยพเข้าไปอาศัยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำโขงคือ เมืองปากห้วยหลวง เชียงคาน โคตรบอง และหนองบังลุ่มพูเท่านั้นเอง ไม่ได้กระจายเข้าไปอยู่บริเวณพื้นที่ตอนในแต่อย่างใด 4 จนกระทั่งการอพยพของชาวลาวครั้งใหญ่จึงหลั่งไหลเข้าสู่ที่ราบสูงโคราชในภายหลัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

เที่ยวกาฬสินธุ์

เที่ยวกาฬสินธุ์
ภูกุ้มข้าว