กาฬสินธุ์

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ประวัติ กาฬสินธุ์



1. สถานะของบริเวณที่ราบสูงโคราชก่อนพุทธศตวรรษที่ 24
ระยะก่อนพุทธศตวรรษที่ 24 ขอมมีอำนาจครอบคลุมบริเวณที่ราบสูงโคราชจนขอมเสื่อมอำนาจลงกลุ่มชาวลาวจึงอพยพเข้าสู่บริเวณที่ราบสูงโคราชในตอนต้นศตวรรษที่ 24
1.1 การเสื่อมอำนาจของขอมในบริเวณที่ราบสูงโคราช
สาเหตุเป็นที่อาณาจักรพระนครหลวงอ่อนแอลง เพราะเป็นผลจากการที่พระมหากษัตริย์ทรงมุ่งแต่นโยบายด้านดารขยายอาณาเขต และทุ่มเท่กำลังทรัพย์รวมทั้งแรงงานในการสร้างปราสาทต่าง ๆ
ครั้งนี้รัชสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 อาณาจักรพระนครหลวงก็เสื่อมลงอย่างได้ชัดเนื่องจลาจลภายในและสงครามจากภายนอกอาณาจักร กล่าวคือ พวกจามยกกองทัพเข้าโจมตีและยึดนครวัดไว้ได้ จนอาณาจักรพระนครหลวงต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของอาณาจักรจามปาระยะหนึ่ง จนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1734 - 1758) จึงสามารถขับไล่จามออกไปได้เป็นผลสำเร็จพระองค์ทรงรวบรวมอาณาจักรพระนครหลวงให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง ทรงขยายอาณาเขตไปครอบคลุมแม่น้ำเจ้าพระยา ตลอดจนถึงแหลมมลายูในด้านใต้ ส่วนด้านเหนือก็ขยายอำนาจถึงบริเวณประเทศลาวปัจจุบัน

1.2 การขยายอำนาจของอาณาจักรล้านช้างเข้าสู่ที่ราบสูงโคราช
ระหว่างที่กรุงศรีอยุธยากับเขมรทำสงครามกันอยู่นั้น เปิดโอกาสให้อาณาจักรล้านช้างอำนาจเข้าสู่ที่ราบสูงโคราชได้เป็นอย่างดี เนื่องจากอาราจักรล้านช้างซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ 19 และได้เจริญเป็นปึกแผ่นมั่นคงขึ้นในสมัยเจ้าฟ้างุ้ม (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1896 – 1916) อ่อนแอลงและเวียดนามก็ถูกรุกรานจากจีนสมัยราชวงศ์เหม็ง เจ้าฟ้างุ้มจึงทรงถือโอกาสขยายพระราชอำนาจเข้าสู่บริเวณที่ราบสูงโคราช โดยทรงยกกองทัพไปตีได้เมืองในบริเวณที่ราบสูงโคราชหลายเมือง คือ พระนารายณ์ พระเทียน เชชะมาด สะพังสี่แจ และโพนผิงแดด ไว้ในพระราชอำนาจ 2 จนถึงรัชสมัยเจ้าสามแสนไทย (ครองราชย์ พ.ศ. 1916 - 1959) อาณาจักรล้านช้างก็ยังมีอำนาจครอบคลุมบริเวณนี้อยู่แต่อย่างไรก็ตามประชากรที่อาศัยอยู่แถบบริเวณที่ราบสูงโคราชตามเมืองต่างๆ ดังกล่าวข้องต้นยังคงเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมซึ่งอาศัยอยู่อย่างเบาบาง ได้แก่ ขอม ละว้า ส่วยและกวย 3 แม้อาณาจักรล้านช้างจะมีอำนาจเหนือดินแดนบริเวณนี้ชาวลาวก็มิได้อพยพเข้าไปอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวแต่อย่างใดชาวลาวอพยพเข้าไปอาศัยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำโขงคือ เมืองปากห้วยหลวง เชียงคาน โคตรบอง และหนองบังลุ่มพูเท่านั้นเอง ไม่ได้กระจายเข้าไปอยู่บริเวณพื้นที่ตอนในแต่อย่างใด 4 จนกระทั่งการอพยพของชาวลาวครั้งใหญ่จึงหลั่งไหลเข้าสู่ที่ราบสูงโคราชในภายหลัง

อพยพเข้าสู่บริเวณที่ราบสูงโคราชของบรรพบุรุษชาวอีสาน



2.อพยพเข้าสู่บริเวณที่ราบสูงโคราชของบรรพบุรุษชาวอีสาน
บรรพบุรุษของชาวอีสานส่วนใหญ่ในปัจจุบันคือชาวลาวที่อพยพมาจากอาณาจักรเวียงจันทน์ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งได้อพยพเข้าสู่บริเวณโคราช 3 กลุ่มใหญ่ ๆ แล้วถิ่นฐานสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นอย่างกว้างขวางดังปรากฏในปัจจุบันนี้ สาเหตุที่ประชากรลาวอพยพเข้ามาในที่ราบสูงโคราชเพราะเกิดความแตกแยกขัดแย้งในอาณาจักรเวียงจันทน์
2.1 ความแตกต่างในลาว
ภายหลังรัชสมัยพระเจ้าสุริยวงษาธรรมมิกราช (พ.ศ. 2197 – 2255) อาณาจักรล้านช้างเกิดความแตกแยกขัดแย้งกัน ภายในกลุ่มชนชั้นผู้ปกครองทำให้อาณาจักรล้านช้างแตกแยกออกเป็น 3 อาราจักร คือ หลวงพระบาง เวียงจันทน์และจำปาศักดิ์ เนื่องจากเมื่อพระเจ้าสุริยวงษาธรรมมิกราชสวรรคต พยาเมืองแสนทำการแย่งชิงราชสมบัติปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าศิริบุญสาร (พ.ศ. 2310 – 2324) ในสมัยนี้เองนำลาวได้พาไพร่พลอพยพหลบหนีออกมาจากเวียงจันทน์เป็นจำนวนมาก ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มชาวลาว 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มพระนางสุมังคละ พระครูโพนเสม็ด กลุ่มพระวอ-พระตา และกลุ่มเจ้าโสม-พะมิต
2.2 กรอพยพของบรรพบุรุษชาวอีสานเข้าสู่โคราช
ผู้นำชาวลาวสามกลุ่มดังกล่าวข้างต้น ได้พาไพร่พลอพยพออกมาจากอาณาจักรศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันทน์ในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน และเป็นระลอกตามลำดับ ดังนี้
2.2.1 กลุ่มพระนางสุมังคละ-พระครูโพนเสม็ด
พระนางสุมังคละเป็นพระมเหสีของพระเจ้าสุริยวงษาธรรมมิกราช เมื่อพระราชสวามิสวรรคตพญาเมืองแสนยึดอำนาจ จะบังคับให้พระนางเป็นชายาด้วยพระนางจึงเสด็จหนีไปลี้ภัยอยู่กับพระครูโพนเสม็ดที่ยังทรงพระครรภ์อยู่
พระครูโพนเสม็ดจึงส่งพระนางไปอยู่ภูสะง้อหอคำ ส่วนพระราชโอรสคือเจ้าองค์หล่อเสด็จหนีไปพึ่งยวน ส่วนทางด้านพระนางสุมังคละในเวลาต่อมาได้ประสูติพระโอรสที่ภูสะง้อหอคำและถวายพระนามว่า เจ้าหน่อกษัตริย์ แต่ด้วยเกรงภัยจากพญาเมืองแสน พระครูโพนเสม็ดจึงพาพระนางสุมังคละกับพระโอรสเสด็จหนีอพยพพร้อมด้วยไพร่พลลงไปตามลำน้ำโขง เมื่อพระธาตุพนมก็อาศัยอยู่บริเวณนั้นและได้บูรณะซ่อมแซมพระธาตุพนมด้วย เมื่อบูรณะพระธาตุพนมเสร็จแล้วอพยพไปถึงเมืองจำปาศักดิ์ ในเวลาต่อมาเจ้าหน่อกษัตริย์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติที่เมืองจำปาศักดิ์ในปีพ.ศ. 2256 ทรงพระนามว่า “เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร” และทรงเปลี่ยนช่อเมืองเป็นนครจำปาศักดิ์นัคบุรีศรี5 เมื่อเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรทรงจัดการปกครองภายในนครจำปาศักดิ์นัคบุรีศรีเรียบร้อยแล้ว ได้ทรงส่งขุนนางข้าราชการออกไปปกครองหัวเมืองต่าง ๆ สีทัดดร สีคอนเตา สาระวัน อัตปือ ตะโปน คำทองใหญ่ โขงเจียม และเมืองทุ่ง6
สำหรับเมืองทุ่งนั้น เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธกูรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จารย์แก้วเป็นเจ้าเมือง จารย์แก้นอพยพไพร่บ้านพลเมืองประมาณ 3, 000 คนเศษ เข้ามาตั้งเมืองทุ่งบริเวณตอนกลางที่ราบสูงโคราช เมื่อปี พ.ศ. 2261 7 โดยมีอาณาจักรกว้างขวางครอบคลุมบริเวณตอนกลางของราบสูงโคราช คือ ทิศเหนือจดบริเวณต้นลำน้ำยังตอนเหนือของอำเภอกุฉินนารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศใต้จดลำน้ำคันยุง (ห้วยขยุง) ในเขตจังหวัดอุบลราขธานีและศรีสะเกษ ทิศตะวันออกจดพรมแดนญวนและทิศตะวันตกจดน้ำพังชูบริเวณเทือกเขาดงพยาเย็น8 เมืองทุ่งนี้ในเวลาต่อมาก็คือเมืองสุวรรณภูมิและแตกสาขาออกไปเป็นเมืองร้อยเอ็ดและมหาสารคาม กลุ่มชาวลาวโดยการนำเสนอของจารย์แก้วนับเป็นกลุ่มแรกที่เข้ามาอาศัยในบริเวณที่ราบสูงโคราชโดยในระยะแรกทำราชการขึ้นกับเมืองจำปาศักดิ์แต่เมื่อจารย์แก้วถึงแก่กรรม เมืองทุ่งได้ทำราชการขึ้นต่อกรุงธรบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตามลำดับ
2.2.2 กลุ่มพระวอ-พระตา
ผู้นำชาวลาวกลุ่มนี้อพยพออกจากเวียงจันทน์ด้วยสาเหตุเกิดความขัดแย้งทางการเมืองในสมัยเจ้าศิริบุญสาร พระวอ-พระตา จึงอพยพพร้อมด้วยไพร่พลออกจากเวียงจันทน์ในปีพ.ศ.2310 เข้ามาอยู่เมืองหนองบังลุ่มพูเป็นอันดันแรกแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบังบาน อาศัยอยู่ได้ 3 ปี ก็รุกร้านจากกองทัพเวียงจันทน์ จึงได้อพยพตามลำน้ำชีลงมาทางตะวันออก ภายหลังได้มาตั้งที่ดอนมดแดง ดงอู่ผึ้ง ห้วยเจระแม แล้วขอพระราชทางตั้งเมืองต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตั้งเมืองอุบลราชธานีศรีวะนาลัยขึ้นและบางส่วนก็แยกออกไปตั้งที่บ้านสิงโคก สิงท่า แล้วขอพระราชทานตั้งเมืองยโสธรในเวลาต่อมา9
2.2.3 กลุ่มเจ้าโสมพะมิต อพยพออกจากอาณาจักรศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันทน์ในเวลาไล่เลี่ยกับกลุ่มพระวอพระตา แต่เข้าไปตั้งถิ่นฐานอาศัยฐานอยู่บริเวณบ้านผ้าขาว บ้านพันนา ในลุ่มน้ำสงคราม กลุ่มนี้มีผู้นำหลายคนมีทั้งเชื่อพระวงศ์ ผู้นำทางศาสนาและกรมการเมือง ได้แก่เจ้าโสมพะมิต (ในเอกสารชั้นต้นฝ่ายกรุงเทพฯ ระบุว่าพญาโสมพะมิต) ท้าวอุปชา เมืองแสนหน้าง้ำเป็นต้นสาเหตุ ที่เจ้าดสมพะมิตอพยพออกจากเมืองเวียงจันทน์เพราะเกิดความขัดแย้งกับพระเจ้าศิริบุญสาร เกี่ยวกับเอกสารหลักฐานที่กล่าวถึงเจ้าโสมพะมิตหรือพญาโสมพะมิตนี้ยังไม่ค่อยชัดเจนนัก พงษาวะดารเมืองกาละสินและเมืองกระมาลาไสย และเมืองขึ้น ฉบับพระราษฎรบริหาร (ทอง) ไม่ได้กล่าวถึงเจ้าผ้าขาวแต่กล่าวถึงพระยาโสมพะมิต(เขียนตามเอกสารต้นฉบับ) พระยาอุปชาเมืองแสนค้อนโปง และเมืองแสนหน้าง้ำเท่านั้น ส่วนพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานของหม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐมคเนจร) ก็กล่าวถึงท้าวโสมพะมิตและท้าวอุปชาเช่นเดียวกันส่วนประวัติศาสตร์อีสาน ของเติม วิภาคย์พจนกิจ อ้างว่า โอรสของพระเจ้าไชยองค์เว้ลักลอบได้เสียกับหลานสาวเจ้าผ้าขาวจนได้กำเนิดบุตรชาย คือเจ้าโสมพะมิต เมื่อเทียบสักราชจากพงษาวะดารเมืองกาละสินและเมืองกระมาลาไสย และเมื่อขึ้นของพระราษฎรบริหาร (ทอง) แล้วอาจกล่าวไว้ว่า เจ้าโสมพะมิตเป็นบุตรของโอรสพระเจ้าไชยองค์เว้กับหลานสาวเจ้าผ้าขาว เจ้าโสมพะมิตเกิดเมื่อราว พ.ศ. 2275 จนถึง 2345 เจ้าโสมพะมิตอายุได้ 70 ปี ดังที่พระราษฎรบริหาร (ทอง) อ้างในพงศาวดารเมืองกาฬสินธุ์ สรุปได้ว่าเจ้าโสมพะมิตเกิดในเวียงจันทน์ เมื่อเติบโตขึ้นได้เข้ารับราชการในราชสำนักเวียงจันทน์จนได้บรรดาศักดิ์เป็นพญาดังปรากฏในเอกสารหลักฐานทางฝ่ายเวียงจันทน์ที่มีศุภอักษรถึงกรุงเทพฯและเอกสารทางฝ่ายท้องถิ่นเอง พญาโสมพะมิตรับราชการอยู่ในเวียงจันทน์ตนอายุได้ 45 ปี จึงอพยพไพร่พลออกจากเวียงจันทน์ร่วมกับพระอุปชา เมืองแสนค้อนโปงและเมืองแสนง้ำ ข้ามลำน้ำน้ำโขงไปตั้งชุมนที่บ้านผ้าขาว บ้านพันนาบริเวณใกล้พระธาตุเชิงชุม (อยู่ในเขตจังหวัดสกลนครในปัจจุบัน) โสมพะมิตได้ปกครองไพร่พลร่วมกับพระอุปชา เมืองแสนค้อนโปง และเมื่อแสนหน้าง้ำที่บ้านผ้าขาว-พันนาซึ่งขณะนั้นมีไพร่พลประมาณ 5, 000 คนเศษทำราชการขึ้นต่อเวียงจันทน์10 ในเวลาต่อมาชุมชนภายใต้กานำของโสมพะมิตที่บ้านผ้าขาว บ้านพันนาเกิดข้อบาดหมางกับเวียงจันทร์ประกอบกับเมืองแสนค้อนโปงและพระอุปชาถึงแก่กรรมลงไป ส่วนเมืองแสนหน้าง้ำก็แยกตัวอพยพไพร่พลของตนตามกลุ่มพระวอ-พระตาลงไปเมืองอุบลราชธานีเจ้าโสมพะมิตจึงอพยพไพร่บ้านพลเมืองของตนข้ามเทือกเขาภูพานไปอาศัยอยู่บริเวณบ้านกลางหมื่น
(ปัจจุบันอยู่ในเขต ตำบลกลางหมื่นอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมืองกาฬสินธุ์)
เมื่อตั้งอยู่บ้านกลางหมื่นก็เห็นว่าชัยภูมิไม่เหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัยเป็นถาวรจึงอพยพไปอยู่บริเวณสำโรงสงเปือยริมน้ำปาว ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองกาฬสินธุ์ในปัจจุบันนี้

การตั้งเมืองกาฬสินธุ์


3.การตั้งเมืองกาฬสินธุ์
เมื่อเจ้าโสมพะมิตตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองมั่นคงที่เก่งสำโรงสงเปือยแล้ว เจ้าโสมพะมิตได้ลงไปเฝ้าทูลละอองธุรีพระบาทพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ รัชกาลที่ 1 ที่กรุงเทพฯ และขอพระราชทานตั้งเมืองทำราชการขึ้นต่อกรุงเทพฯ โดยตรง
3.1 การขอพระราชทานตั้งเมือง
ชุมชนบ้านแก่งสำโรงสงเปือยได้ตกเข้าอยู่ในเขตอิทธิพลทางการเมืองของกรุงเทพฯประมาณ 10 ปี ก่อนที่จะได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเมืองเพราะมีหลักฐานเอกสารระบุชัดเจนว่า ในปี พ.ศ. 2325 เจ้าโสมพะมิตได่ส่งบรรณาการ ได้แก่ น้ำรัก สีผึ้ง นอแรดและงาช้างต่อกรุงเทพฯ โดยผ่านทางเวียงจันทน์จนกระทั่งปี พ.ศ. 2336 เจ้าโสมพะมิตได้เดินทางลงไปกรุงเทพฯ เข้าเฝ้าทูลละอองธุรีพระบาทขอพระราชทานตั้งเมือง จึงมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกฐานะบ้านแก่งสำโรงเป็นเมืองกาฬสินธุ์ตั้งเจ้าโสมพะมิตเป็นพระยาไชยสุนทรเจ้าเมืองท้าวคำหวาอุปชาฮาดทำราชการขึ้นต่อกรุงเทพ12 เกี่ยวกับศักราชที่ตั้งเมืองกาฬสินธุ์ยังเป็นที่สงสัยเคลือบแคลงใจอยู่เพราะเมืองกาฬสินธุ์ขาดเอกสารหลักฐานชั้นต้นที่รัดกุมแน่นหนาไม่เหมือนกับเมืองอุบลธานีศรีวะนาลัย และเมืองสุวรรณภูมิราชบุรินทร์ ซึ่งทั้งสองเมืองมีสุพรรณบัฏทรงตั้งเจ้าประเทศราชโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯรัชกาลที่ 1 13 สำหรับหลักบานเอกสารของเมืองกระมาลาไสยและเมืองขึ้นของพระราษฎรบริหาร (ทอง) ซึ่งแต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 แลพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานของหม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม คเนจร) ข้าราชการมณฑลลาวกาวที่ได้เดินทางตรวจราชการทั่วหัวเมืองอีสานในรัชกาลที่ 5 เช่นเดียวกัน ระบุศักราชการตั้งเมืองกาฬสินธุ์ไว้เหมือนกัน คือ พ.ศ. 2336 ซึ่งสามารถวิเคราะห์จากเอกสารสำคัญทั้งสองฉบับได้ดังนี้
(1) เอกสารทั้งสองกล่าวว่าเจ้าโสมพะมิตลงไป
เฝ้าทูลละอองธุรีพระบาท พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ รัชกาลที่ 1 ที่กรุงเทพฯ ขอทำราชการขึ้นต่อกรุงเทพฯ และขอพระราชทานตั้งเมืองเอกสารทั้งสองฉบับหรือฉบับอื่น ๆเชื่อถือได้ว่าเจ้าโสมพะมิตลงไปเฝ้าทูลละอองธุรีพระบาทที่กรุงเทพฯ เพราะเป็นการอพยพเข้ามาครั้งแรกแล้วขอพระราชทานตั้งเมือง ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้นำกลุ่มชุมชนนั้นจะต้องเข้าเฝ้าทูลละอองธุรีพระบาทขอพระราชทานตั้งเมืองโดยตรง
(2) พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานของหม่อมอมรวงศ์วิจิตร และประวัติศาสตร์อีสาน ของเติม วิภาคพจนกิจ อ้างว่าโปรดเกล้าฯ สถาปนาเมืองกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2336 สำหรับพงษาวะดารเมืองกาลสินฯของพระราษฎรบริหาร (ทอง) ระบุว่า “แล้วพระยาโสมพะมิตลงไปเฝ้าทูลละอองธุรีพระบาท ในแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระยอดฟ้าจุฬาโลก จึงโปรดเกล้าตั้งให้พระยาดสมพะมิตเป็นที่พระยาไชยสุนทรเจ้าเมืองขานนามแก้งสำโรงขึ้นเป็นเมืองกาฬสินธุ์ แต่วันปีจอจัตวาศก ลุศักราช 1164 พระยาไชยสุนทรโสมพะมิตเจ้าเมืองกาลสินธุ์ชราอายุ 70 ปีเศษหลงสติจึงมอบราชการเมืองให้ท้าวหมาแพงบุตรพระอุปชาเป็นผู้ว่าการเมืองกาลสินธุ์ต่อมา... ” จะเห็นได้ว่าศักราชตั้งเมืองกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2336 ถูกต้องแล้วเพราะมีเจ้าโสมพะมิตอายุ 61 ปี สามารถเดินทางไปกรุงเทพได้และสามารถปฏิบัติราชการเป็นเจ้าเมืองได้จนถึง พ.ศ. 2345 ซึ่งเป็นปีที่เจ้าโสมพะมิตอายุได้ 70 ปี และหลงสติจึงมอบราชการงานเมืองให้ท้าวหมาแพงรักษาดูแลต่อไป พงษาวะดารเมืองกาลสินฯ ของพระราษฎรบริหาร (ทอง) ระบุถูกต้องว่าจุลศักราช 1164 (พ.ศ.2345) พระยาไชยสุนทรชราภาพอายุ 70 ปีเศษหลงสติกล่าวได้ว่าเอกสารฉบับพระราชราษฎรบริหาร (ทอง) นี้ไม่ได้ระบุปีพุทธศักราชที่ตั้งเมืองกาฬสินธุ์ เป็นแต่ระบุปีที่เจ้าเมืองชราภาพหลงสติเท่านั้น
(3) เมืองอุบลราชธานี และเมืองสุวรรณภูมิ มีหลักฐานได้รับพระราชทานตั้งเมืองเมื่อ พ.ศ. 2334 เมืองกาฬสินธุ์ซึ่งไพร่บ้านพลเมืองอพยพออกมาจากนครเวียงจันทน์ในเวลาไล่เลี่ยกันกับกลุ่มชาวลาวที่ตั้งเมืองสุวรรณภูมิ จึงน่าได้รับการสถาปนาตั้งเมืองในเวลาไล่เลี่ยกันด้วย
จากการวิเคราะห์และประเมินค่าเอกสารแล้วสรุปได้ว่าเมืองกาฬสินธุ์ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2336 ที่เอกสารส่วนใหญ่อ้าง และตามสถานการณ์การตั้งเมืองร่วมสมัยในเวลานั้น แต่ที่แน่นอนที่สุดคือเมืองกาฬสินธุ์เป็นเมืองที่สถาปนาขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์(พ.ศ.2325-2352) เป็นการเริ่มต้นความสัมพันธ์เชิงสวามิภักดิ์ของเมืองกาฬสินธุ์ต่อกรุงเทพฯ หรือมีส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทยโดยแท้จริง
3.2 อาณาจักรเมืองกาฬสินธุ์
เนื่องจากในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณที่ราบสูงโคราชมีอยู่เพียงเบาบางเล็กน้อย การกำหนดเขตแดนของเมืองกาฬสินธุ์จึงกำหนดไว้กว้าง ๆ ดังนี้
...ตั้งแต่แม่น้ำพองข้างเหนือมาตกชีข้างตะวันตกนั้น ตั้งแต่พองตัดรัดไปห้วยไพจารไปเขาทอกคอกดาวตัดไป

ผู้ติดตาม

เที่ยวกาฬสินธุ์

เที่ยวกาฬสินธุ์
ภูกุ้มข้าว