กาฬสินธุ์

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

อพยพเข้าสู่บริเวณที่ราบสูงโคราชของบรรพบุรุษชาวอีสาน



2.อพยพเข้าสู่บริเวณที่ราบสูงโคราชของบรรพบุรุษชาวอีสาน
บรรพบุรุษของชาวอีสานส่วนใหญ่ในปัจจุบันคือชาวลาวที่อพยพมาจากอาณาจักรเวียงจันทน์ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งได้อพยพเข้าสู่บริเวณโคราช 3 กลุ่มใหญ่ ๆ แล้วถิ่นฐานสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นอย่างกว้างขวางดังปรากฏในปัจจุบันนี้ สาเหตุที่ประชากรลาวอพยพเข้ามาในที่ราบสูงโคราชเพราะเกิดความแตกแยกขัดแย้งในอาณาจักรเวียงจันทน์
2.1 ความแตกต่างในลาว
ภายหลังรัชสมัยพระเจ้าสุริยวงษาธรรมมิกราช (พ.ศ. 2197 – 2255) อาณาจักรล้านช้างเกิดความแตกแยกขัดแย้งกัน ภายในกลุ่มชนชั้นผู้ปกครองทำให้อาณาจักรล้านช้างแตกแยกออกเป็น 3 อาราจักร คือ หลวงพระบาง เวียงจันทน์และจำปาศักดิ์ เนื่องจากเมื่อพระเจ้าสุริยวงษาธรรมมิกราชสวรรคต พยาเมืองแสนทำการแย่งชิงราชสมบัติปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าศิริบุญสาร (พ.ศ. 2310 – 2324) ในสมัยนี้เองนำลาวได้พาไพร่พลอพยพหลบหนีออกมาจากเวียงจันทน์เป็นจำนวนมาก ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มชาวลาว 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มพระนางสุมังคละ พระครูโพนเสม็ด กลุ่มพระวอ-พระตา และกลุ่มเจ้าโสม-พะมิต
2.2 กรอพยพของบรรพบุรุษชาวอีสานเข้าสู่โคราช
ผู้นำชาวลาวสามกลุ่มดังกล่าวข้างต้น ได้พาไพร่พลอพยพออกมาจากอาณาจักรศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันทน์ในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน และเป็นระลอกตามลำดับ ดังนี้
2.2.1 กลุ่มพระนางสุมังคละ-พระครูโพนเสม็ด
พระนางสุมังคละเป็นพระมเหสีของพระเจ้าสุริยวงษาธรรมมิกราช เมื่อพระราชสวามิสวรรคตพญาเมืองแสนยึดอำนาจ จะบังคับให้พระนางเป็นชายาด้วยพระนางจึงเสด็จหนีไปลี้ภัยอยู่กับพระครูโพนเสม็ดที่ยังทรงพระครรภ์อยู่
พระครูโพนเสม็ดจึงส่งพระนางไปอยู่ภูสะง้อหอคำ ส่วนพระราชโอรสคือเจ้าองค์หล่อเสด็จหนีไปพึ่งยวน ส่วนทางด้านพระนางสุมังคละในเวลาต่อมาได้ประสูติพระโอรสที่ภูสะง้อหอคำและถวายพระนามว่า เจ้าหน่อกษัตริย์ แต่ด้วยเกรงภัยจากพญาเมืองแสน พระครูโพนเสม็ดจึงพาพระนางสุมังคละกับพระโอรสเสด็จหนีอพยพพร้อมด้วยไพร่พลลงไปตามลำน้ำโขง เมื่อพระธาตุพนมก็อาศัยอยู่บริเวณนั้นและได้บูรณะซ่อมแซมพระธาตุพนมด้วย เมื่อบูรณะพระธาตุพนมเสร็จแล้วอพยพไปถึงเมืองจำปาศักดิ์ ในเวลาต่อมาเจ้าหน่อกษัตริย์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติที่เมืองจำปาศักดิ์ในปีพ.ศ. 2256 ทรงพระนามว่า “เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร” และทรงเปลี่ยนช่อเมืองเป็นนครจำปาศักดิ์นัคบุรีศรี5 เมื่อเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรทรงจัดการปกครองภายในนครจำปาศักดิ์นัคบุรีศรีเรียบร้อยแล้ว ได้ทรงส่งขุนนางข้าราชการออกไปปกครองหัวเมืองต่าง ๆ สีทัดดร สีคอนเตา สาระวัน อัตปือ ตะโปน คำทองใหญ่ โขงเจียม และเมืองทุ่ง6
สำหรับเมืองทุ่งนั้น เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธกูรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จารย์แก้วเป็นเจ้าเมือง จารย์แก้นอพยพไพร่บ้านพลเมืองประมาณ 3, 000 คนเศษ เข้ามาตั้งเมืองทุ่งบริเวณตอนกลางที่ราบสูงโคราช เมื่อปี พ.ศ. 2261 7 โดยมีอาณาจักรกว้างขวางครอบคลุมบริเวณตอนกลางของราบสูงโคราช คือ ทิศเหนือจดบริเวณต้นลำน้ำยังตอนเหนือของอำเภอกุฉินนารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศใต้จดลำน้ำคันยุง (ห้วยขยุง) ในเขตจังหวัดอุบลราขธานีและศรีสะเกษ ทิศตะวันออกจดพรมแดนญวนและทิศตะวันตกจดน้ำพังชูบริเวณเทือกเขาดงพยาเย็น8 เมืองทุ่งนี้ในเวลาต่อมาก็คือเมืองสุวรรณภูมิและแตกสาขาออกไปเป็นเมืองร้อยเอ็ดและมหาสารคาม กลุ่มชาวลาวโดยการนำเสนอของจารย์แก้วนับเป็นกลุ่มแรกที่เข้ามาอาศัยในบริเวณที่ราบสูงโคราชโดยในระยะแรกทำราชการขึ้นกับเมืองจำปาศักดิ์แต่เมื่อจารย์แก้วถึงแก่กรรม เมืองทุ่งได้ทำราชการขึ้นต่อกรุงธรบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตามลำดับ
2.2.2 กลุ่มพระวอ-พระตา
ผู้นำชาวลาวกลุ่มนี้อพยพออกจากเวียงจันทน์ด้วยสาเหตุเกิดความขัดแย้งทางการเมืองในสมัยเจ้าศิริบุญสาร พระวอ-พระตา จึงอพยพพร้อมด้วยไพร่พลออกจากเวียงจันทน์ในปีพ.ศ.2310 เข้ามาอยู่เมืองหนองบังลุ่มพูเป็นอันดันแรกแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบังบาน อาศัยอยู่ได้ 3 ปี ก็รุกร้านจากกองทัพเวียงจันทน์ จึงได้อพยพตามลำน้ำชีลงมาทางตะวันออก ภายหลังได้มาตั้งที่ดอนมดแดง ดงอู่ผึ้ง ห้วยเจระแม แล้วขอพระราชทางตั้งเมืองต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตั้งเมืองอุบลราชธานีศรีวะนาลัยขึ้นและบางส่วนก็แยกออกไปตั้งที่บ้านสิงโคก สิงท่า แล้วขอพระราชทานตั้งเมืองยโสธรในเวลาต่อมา9
2.2.3 กลุ่มเจ้าโสมพะมิต อพยพออกจากอาณาจักรศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันทน์ในเวลาไล่เลี่ยกับกลุ่มพระวอพระตา แต่เข้าไปตั้งถิ่นฐานอาศัยฐานอยู่บริเวณบ้านผ้าขาว บ้านพันนา ในลุ่มน้ำสงคราม กลุ่มนี้มีผู้นำหลายคนมีทั้งเชื่อพระวงศ์ ผู้นำทางศาสนาและกรมการเมือง ได้แก่เจ้าโสมพะมิต (ในเอกสารชั้นต้นฝ่ายกรุงเทพฯ ระบุว่าพญาโสมพะมิต) ท้าวอุปชา เมืองแสนหน้าง้ำเป็นต้นสาเหตุ ที่เจ้าดสมพะมิตอพยพออกจากเมืองเวียงจันทน์เพราะเกิดความขัดแย้งกับพระเจ้าศิริบุญสาร เกี่ยวกับเอกสารหลักฐานที่กล่าวถึงเจ้าโสมพะมิตหรือพญาโสมพะมิตนี้ยังไม่ค่อยชัดเจนนัก พงษาวะดารเมืองกาละสินและเมืองกระมาลาไสย และเมืองขึ้น ฉบับพระราษฎรบริหาร (ทอง) ไม่ได้กล่าวถึงเจ้าผ้าขาวแต่กล่าวถึงพระยาโสมพะมิต(เขียนตามเอกสารต้นฉบับ) พระยาอุปชาเมืองแสนค้อนโปง และเมืองแสนหน้าง้ำเท่านั้น ส่วนพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานของหม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐมคเนจร) ก็กล่าวถึงท้าวโสมพะมิตและท้าวอุปชาเช่นเดียวกันส่วนประวัติศาสตร์อีสาน ของเติม วิภาคย์พจนกิจ อ้างว่า โอรสของพระเจ้าไชยองค์เว้ลักลอบได้เสียกับหลานสาวเจ้าผ้าขาวจนได้กำเนิดบุตรชาย คือเจ้าโสมพะมิต เมื่อเทียบสักราชจากพงษาวะดารเมืองกาละสินและเมืองกระมาลาไสย และเมื่อขึ้นของพระราษฎรบริหาร (ทอง) แล้วอาจกล่าวไว้ว่า เจ้าโสมพะมิตเป็นบุตรของโอรสพระเจ้าไชยองค์เว้กับหลานสาวเจ้าผ้าขาว เจ้าโสมพะมิตเกิดเมื่อราว พ.ศ. 2275 จนถึง 2345 เจ้าโสมพะมิตอายุได้ 70 ปี ดังที่พระราษฎรบริหาร (ทอง) อ้างในพงศาวดารเมืองกาฬสินธุ์ สรุปได้ว่าเจ้าโสมพะมิตเกิดในเวียงจันทน์ เมื่อเติบโตขึ้นได้เข้ารับราชการในราชสำนักเวียงจันทน์จนได้บรรดาศักดิ์เป็นพญาดังปรากฏในเอกสารหลักฐานทางฝ่ายเวียงจันทน์ที่มีศุภอักษรถึงกรุงเทพฯและเอกสารทางฝ่ายท้องถิ่นเอง พญาโสมพะมิตรับราชการอยู่ในเวียงจันทน์ตนอายุได้ 45 ปี จึงอพยพไพร่พลออกจากเวียงจันทน์ร่วมกับพระอุปชา เมืองแสนค้อนโปงและเมืองแสนง้ำ ข้ามลำน้ำน้ำโขงไปตั้งชุมนที่บ้านผ้าขาว บ้านพันนาบริเวณใกล้พระธาตุเชิงชุม (อยู่ในเขตจังหวัดสกลนครในปัจจุบัน) โสมพะมิตได้ปกครองไพร่พลร่วมกับพระอุปชา เมืองแสนค้อนโปง และเมื่อแสนหน้าง้ำที่บ้านผ้าขาว-พันนาซึ่งขณะนั้นมีไพร่พลประมาณ 5, 000 คนเศษทำราชการขึ้นต่อเวียงจันทน์10 ในเวลาต่อมาชุมชนภายใต้กานำของโสมพะมิตที่บ้านผ้าขาว บ้านพันนาเกิดข้อบาดหมางกับเวียงจันทร์ประกอบกับเมืองแสนค้อนโปงและพระอุปชาถึงแก่กรรมลงไป ส่วนเมืองแสนหน้าง้ำก็แยกตัวอพยพไพร่พลของตนตามกลุ่มพระวอ-พระตาลงไปเมืองอุบลราชธานีเจ้าโสมพะมิตจึงอพยพไพร่บ้านพลเมืองของตนข้ามเทือกเขาภูพานไปอาศัยอยู่บริเวณบ้านกลางหมื่น
(ปัจจุบันอยู่ในเขต ตำบลกลางหมื่นอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมืองกาฬสินธุ์)
เมื่อตั้งอยู่บ้านกลางหมื่นก็เห็นว่าชัยภูมิไม่เหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัยเป็นถาวรจึงอพยพไปอยู่บริเวณสำโรงสงเปือยริมน้ำปาว ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองกาฬสินธุ์ในปัจจุบันนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

เที่ยวกาฬสินธุ์

เที่ยวกาฬสินธุ์
ภูกุ้มข้าว